ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวเมื่อต้องส่งเครื่องเข้าซ่อม
Updated : Feb 03, 2018
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลส่วนตัว เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีโอกาสส่งเครื่องโน๊ตบุ้คไปซ่อมที่ศูนย์บริการแห่งหนึ่ง เนื่องจากเมนบอร์ดเส่ีย ก็ทำเรื่องส่งซ่อมไปปกติ แต่ส่วนที่พลาดคือไม่ได้มีโอกาสเปลี่ยนพาสเวิร์ดเข้าเครื่องก่อน เพราะเครื่องได้จากไปโดยไม่ได้บอกลาล่วงหน้า
หลังจากส่งไป 2-3 วัน เจ้าหน้าที่โทรมา
เจ้าหน้าที่ : สวัสดีค่ะ ..... คือทางเราต้องการขอพาสเวิร์ดเข้าเครื่องลูกค้าอะคะ
me: ลงใหม่ได้เลยครับ
เจ้าหน้าที่ : .... blah .. blah แต่ทางเราต้องการเข้าเครื่องเพื่อทดสอบอะค่ะ ....
me: ไม่สะดวกให้อะครับ ถ้าต้องการเข้าเครื่องก็ลงใหม่ทับไปเลย
เจ้าหน้าที่: ... ไว้โทรมาบอกตอนหลังก็ได้ค่ะ
me: ...
จบ
จากบทสนทนาด้านบน ก็คงคิดว่าเจ้าของบทความนี้เรื่องมากชิบหาย แต่!!!! จะบอกว่าเครื่องนั้นเป็นโน๊ตบุ้คส่วนตัว ข้างในนั้นมีข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลงาน ล็อกอิน บัญชี facebook, google และบริการอื่นๆ เอาไว้ ข้อมูลพวกนี้เป็นข้อมูลส่วนตัว ผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงจะคิดว่าเรื่องมากไปป่าว ใครจะอยากรู้ข้อมูลส่วนตัวเอ็งได้ไปจะเอาไปทำอะไรได้ ถ้าคิดว่าข้อมูลเล็กน้อยจะเอาไปทำอะไรได้ ลองไล่ดูข่าวต่อไปนี้
- พ่อเมืองก็โดน มือดีปลอมเฟซบุ๊กผู้ว่าฯ อุบล ตระเวนยืมเงิน
- ปลอมเฟซบุ๊ก หลอกยืมเงิน! โดนอีก3ราย มีทั้งครู-ทนายที่นนทบุรี
- 4นักข่าวสาวไทยรัฐทีวีโร่แจ้งความ โดนมือดีปลอมเฟซฯไล่ด่าเพื่อนนักข่าวด้วยกัน
ข่าวด้านบนก็เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเล็กๆน้อยมาแอบอ้างปลอมตัวตนออนไลน์ แต่ในกรณีที่มีใครสามารถเข้าใช้เครื่องส่วนตัวเราได้ ไม่จำเป็นต้องปลอมตัวอะไรเลย แค่ทักข้อความส่วนตัวไปขอยืมเงินเพื่อน จ่ายเงินซื้อของ(กรณีที่จำรหัสผ่าน paypal หรือเว็บที่ช็อปปิ้งเก็บบัตรเครดิตไว้) แอบบันทึกรูปภาพส่วนตัวเราไป ลงเว็บต่างๆ ก็เกิดความเสียหายแล้ว
แต่ผู้อ่านบางคนก็อาจจะบอกว่าเฮ้ย.. คนทำงานด้านนี้เค้ามีจริยธรรมพอ ไม่ดูข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าหรอก จริงๆเหรอ?
คุณจะมั่นใจได้อย่างไร ว่ารหัสผ่านและข้อมูลที่เราส่งไป ถูกเก็บรักษาอย่างดี ไม่ถูกเผยแพร่ หรือเอาไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น? มั่นใจจริงๆเหรอ?
ไม่ได้จะเป็นการกล่าวหาใคร แต่สิ่งที่ต้องการจะบอกคือทุกๆวงการมีทั้งคนดีและคนไม่ดี
ส่วนที่กังวลคือ
- การจัดการกับรหัสผ่านของลูกค้าหลังจากรับไปแล้ว
- การจำกัดจำนวนคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ในกรณีที่เราต้องส่งเครื่องเข้าซ่อม เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ถ้าเครื่องยังพอเปิดได้ก่อนส่งซ่อม ควรเคลียร์ข้อมูลส่วนตัว และเปลี่ยนพาสเวิร์ดก่อนส่งซ่อมเป็นพาสเวิร์ดง่ายๆ หลังจากซ่อมเสร็จแล้วค่อยเปลียนพาสเวิร์ดที่ใช้จริงอีกที แต่กรณีที่ไม่สามารถเปิดได้ เราควรเข้าไปในบริการสำคัญๆ เช่น facebook, google จากนั้นเลือกให้ล็อกเอาท์ออกจากทุกอุปกรณ์
เจตนาของบทความนี้ต้องการให้ทั้งเจ้าของข้อมูล และ ผู้ให้บริการ เข้าใจและเคารพในความเป็นส่วนตัว เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนตัว

"Everyone sees life from their own angle but I’m always interested in the paradoxical and unexpected"