pattern

ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ Internet of Things

     11,903

pattern

internet-of-things

Internet of Things คืออะไร?

นิยามง่าย ๆ ของ Internet of Things คือ “อุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อเน็ตได้” ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ โดยปัจจุบันมีตั้งแต่ตู้เย็นที่แจ้งเตือนเมื่อ นม หมู ไข่ จะหมด ไปจนถึงตัวเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม แต่สำหรับผู้ที่บริหารจัดการด้านไอทีแล้ว ถือเป็นความท้าทายอย่างหนักหน่วง ยิ่งกว่าสมัย BYOD เข้ามาในองค์กรใหม่ ๆ

IDC กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากถึงหมื่นสามพันล้านเครื่องทั่วโลก และจะเพิ่มเป็นสามหมื่นเครื่องภายในอีกสามปีข้างหน้า (ขณะที่จำนวนผู้ใช้สมาร์ตโฟนยังมีไม่ถึงสี่พันล้านคนเลยเท่านั้น) ดังนั้น ทาง NetworkWorld.com จึงออกมาสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ IoT ให้ชัดเจนในแต่ละด้าน ทั้งความสามารถในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น, ระบบที่เกี่ยวข้อง, ความปลอดภัย, และการประยุกต์ใช้

ด้าน Interoperability

การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น หรือ Interoperability ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ดึงประโยชน์จาก IoT ได้มากที่สุด ก็ต่อเมื่อมีอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานประสานร่วมกันจำนวนมากเพียงพอ ทำให้ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเช่น Google, Microsoft, Apple, Cisco, Intel, และ IBM ต่างพยายามหาจำนวนผู้ใช้เข้ามาในระบบของตัวเองให้มากที่สุด ขณะที่การผสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ที่มาจากผู้จำหน่ายแต่ละรายยังคงมีปัญหาอยู่

นั่นคือ ไม่มีผู้จำหน่ายเจ้าไหนยอมแพ้ในการผลักดันระบบของตัวเองให้เป็นมาตรฐานที่ได้การยอมรับมากที่สุดในตลาด แน่นอนว่าอุปสรรคที่ถ่วงความเจริญของระบบ IoT นี้ก็มีหน่วยงานกำลังผลักดันแก้ไขอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Underwriters Laboratories หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Living Lab” กับ Internet Engineering Task Force (IETF)

ด้าน Systems

ด้านระบบที่ใช้ มีหลากหลายมากเริ่มตั้งแต่ระดับเน็ตเวิร์ก เช่น Bluetooth, Bluetooth LE, ZigBee, RFID, Wi-Fi, cellular, Z-Wave, 6LowPAN, Thread, NFC, Sigfox, Neul, LoRaWAN, Alljoyn, IoTivity, Weave, Homekit, MQTT, CoAP, JSON-LD เป็นต้น

ซึ่งมาตรฐานทั้งหมดต่างมีส่วนฟังก์ชันที่ซ้อนทับกันมากมาย ทำให้อุปกรณ์หนึ่ง ๆ อาจใช้ได้แค่เทคโนโลยีเดียว, หลายเทคโนโลยี, หรือใช้เทคโนโลยีอื่นเหล่านี้ไม่ได้เลย จนกลายเป็นอุปสรรคในการประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์อยู่ดี

internet-of-things

ด้าน Security

มาถึงประเด็นหลักที่ทุกคนกังวล จากข้อเท็จจริงที่ปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT จำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการใส่ระบบความปลอดภัยลงในอุปกรณ์ขนาดเล็กมากนั้นเป็นไปอย่างลำบากมาก

ปัญหาด้านความปลอดภัยประการแรก คือ การที่อุปกรณ์ IoT ที่โดนเจาะระบบจะกลายเป็นประตูเปิดช่องอย่างดีให้แฮ็กเกอร์บุกรุกเข้ามายังเครือข่ายภายในที่อุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมต่ออยู่ ประการต่อมาคือ อุปกรณ์ที่โดนควบคุมดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งของฝูงบอทเน็ต อย่างกรณี Mirai ชื่อดังเป็นต้น

อุปสรรคใหญ่ของแอดมิน คือ การจัดกลุ่มหรือนำอุปกรณ์ทุกชิ้นเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมจัดการให้ครบทั้งหมดนั้นค่อนข้างยาก ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตอุปกรณ์ก็ดูทำงานยากทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความปลอดภัย และการส่งตัวอัปเดตแพ็ตช์ให้สามารถกระจายอัปเดตได้ครบทุกตัว

ด้าน Application

สุดท้ายแล้ว ในด้านการประยุกต์ใช้นั้น จะพบว่าวงการอุตสาหกรรมหนักมีการใช้งาน IoT จำนวนมากและหนักหน่วงมากที่สุด โดยเฉพาะการพัฒนาอุปกรณ์ IoT ประเภทของตัวเองที่เรียกว่า Industrial IoT (IIoT) รองลงมาก็เป็นด้านเกษตรกรรม ที่นำมาใช้ทั้งการเพาะปลูก, การเก็บเกี่ยว, รวมทั้งการตรวจสอบสถานะของดิน ทั้งหมดถูกจัดการจากศูนย์กลางโดยใช้เทคโนโลยี GPS ที่แม่นยำเป็นเครื่องมือสำคัญ และในวงการสาธารณสุข เพื่อแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างบุคลากรอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

ที่มา : networkworld

ch3-thailand-tv-online-live

บริการ BullVPN VPN ที่จะทำให้คุณเป็นอิสระทางโลกอินเทอร์เน็ตทะลุบล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ 

✅ ปกปิดตัวตนซ่อน IP 

✅ ทะลุบล็อกเว็บไซต์ต่าง ๆ

✅ ดูหนัง ฟังเพลงได้ลื่นขึ้น

✅ เล่นเว็บไซต์นอกประเทศได้

✅ ป้องกันการถูกแฮกจากฟรีวายฟาย เช่น ร้านกาแฟต่าง ๆ

✅ ปรับอินเทอร์เน็ตออกนอกให้ดีขึ้น ทำให้โหลดข้อมูลเร็วขึ้น

✅ ลดแล็ก ลดปิงเกมก็ได้